เกี่ยวกับเรา

บริษัท J.A.T. GROUND EXPERT ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับงานซ่อมแซม

ซ่อมบำรุงทางด้านงานโยธาแบบครบวงจรของอาคาร

โรงงาน และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ โดยบริษัทมีลักษณะงานและการให้บริการดังต่อไปนี้

 

  1. งานเสริมฐานรากด้วยเสาเข็มไมโครไพล์ แก้ปัญหาโครงสร้างอาคารทรุด บ้านทรุด ส่วนต่อเติมทรุด ครัวทรุด รวมถึงยกปรับระดับโครงสร้างและอาคาร

  2. งานยกปรับระดับพื้นคอนกรีตทรุด พื้นโรงงานทรุด ฐานคอนกรีตทรุด หรือถนนคอนกรีตทรุด

  3. แก้ปัญหาใต้พื้นคอนกรีตเป็นโพรง โพรงใต้พื้นโรงงานและโพรงใต้พื้นอาคาร

 

 บริษัทรับซ่อมบำรุงงานโยธาในโรงงาน

บริษัทรับซ่อมบำรุงงานโยธาในโรงงาน

 

      4. ซ่อมคอนกรีตแตกร้าว ซ่อมพื้นคอนกรีตแตกร้าว ซ่อมพื้นถนนคอนกรีตแตกร้าว ซ่อมพื้นคอนกรีตแตกร้าวรั่วซึม และซ่อมโครงสร้างคอนกรีตแตกร้าว

      5. งานซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต ที่ผุกร่อน เสียหายหรือเสื่อมสภาพ

      6.งานปรับปรุงสภาพดิน (Soil Improvement) แก้ปัญหาสภาพชั้นดินอ่อน และปรับปรุงสภาพชั้นดิน ด้วยการเกร้าท์ติ้งวัสดุต่างๆ เช่น คอนกรีตมวลเบา (Cellular Light Weight Cement), คอนกรีตแบบพิเศษ (Low Mobility Grouting) และโพลียูรีเทน (polyurethane)

      7. ซ่อมพื้นอีพ็อกซี่ ซ่อมพื้นพียู ซ่อมพื้นอีพ็อกซี่กันไฟฟ้าสถิต ซ่อมพื้นป้องกันสารเคมี-พื้นผิวบ่อบำบัดน้ำเสีย เคลือบผิวคอนกรีต ซ่อมผิวคอนกรีต และติดตั้งระบบกันซึม

      8. ซ่อมฉาบผิวพื้นคอนกรีตชำรุดหลุดล่อน ผิวคอนกรีตผุกร่อนเป็นฝุ่น ซ่อมผิวพื้นถนน ซ่อมผิวพื้นลานบิน สนามบินชำรุดเสียหาย

 

5 เหตุผล ทำไมจึงต้องใช้บริการซ่อมพื้นทรุดเอียงพื้นแตกร้าวกับ
บริษัท เจ.เอ.ที. กราวด์ เอกซ์เพิร์ท จำกัด

  1. ประสบการณ์ในการซ่อมปรับประดับพื้นทั้งในและต่างประเทศมากกว่า 10 ปี
  2. ตรวจวิเคราะห์สาเหตุพื้นทรุดเอียงแตกร้าว และมีวิธีแก้ปัญหาให้ตรงจุด
  3. บริการซ่อมแซมแบบครบวงจร โดยช่างผู้ชำนาญการมีเครื่องมือเฉพาะด้านรวมถึงวัสดุและเคมี มีวิศวกรวิศวกรรมโยธา ดูแลควบคุมงานตั้งแต่เริ่มต้นจนจบเคสอย่างรวดเร็ว
  4. มีการบริหารจัดการ งานซ่อมอย่างเป็นระบบสอดคล้องกับระเบียบเงื่อนไขของแต่ละสถานที่โดยรบกวนเวลาและพื้นที่สัญจรน้อยที่สุด
  5. แก้ปัญหาจบไม่ยืดเยื้อเรื้อรัง แก้ปัญหาได้อย่างถาวรใช้งานหรืออยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัยและสบายใจ พร้อมรับประกันคุณภาพงานทุกเคส

สินค้าและบริการ

1. งานแก้ปัญหาอาคารหรือส่วนต่อเติมบ้านทรุดเอียงด้วยการเสริมเสาเข็มไมโครไพล์ บริการโดยวิศวกร 

โดยเสาเข็มไมโครไพล์ถูกออกแบบมาเพื่อเสริมความสามารถในการรับนํ้าหนักให้กับโครงสร้างที่มีการทรุดตัวและแก้ปัญหาบ้านทรุดโดยเฉพาะ โดยเสาเข็มจะถูกกดลงไปยังชั้นดินแข็งเพื่อให้สามารถรับนํ้าหนักของโครงสร้างได้

 


 

คุณสมบัติเสาเข็มไมโครไพล์

  • สามารถกดลึกได้กว่า 20 เมตร
  • สามารถรับน้ำหนักได้มากกว่า 15 ตัน
  • ใช้พื้นที่ในการทำงานน้อย โดยที่ไม่ต้องรื้อโครงสร้างออก
  • ลดผลกระทบของเสียง และแรงสั่นสะเทือนต่อพื้นที่ข้างเคียง
  • วัสดุเป็นเหล็กหนา หล่อพิเศษ ป้องกันสนิมด้วยการชุบกัลวาไนซ์
  • ใช้เวลาน้อยและไม่เลอะเทอะ เมื่อเทียบกับการซ่อมแบบอื่นๆ
  • มีกระบวนการ และสามารถตรวจสอบได้จากความลึก และแรงดัน ขณะทำการกดเสาเข็ม

 

2. งานยกพื้นคอนกรีต Up-Lifting

การทรุดตัวของพื้นคอนกรีตอาจเกิดมาจากขั้นตอนการบดอัดดินในขณะก่อสร้างไม่แน่นพอ หรือเกิดจากนํ้าในชั้นดินทำให้เกิดการอ่อนตัวของชั้นดิน วิธีการ Up-Lifting จะทำการบดอัดชั้นดินที่มีความหนาแน่นน้อย ให้มีความหนาแน่นมากขึ้น และทำให้ชั้นดินมีความสามารถในการรับน้ำหนักได้มากขึ้นอีกด้วย


 

สารเรซิน จะถูกฉีดลงไปใต้พื้นคอนกรีตเพื่อทำการเติมเต็มโพรงใต้พื้นคอนกรีต หลังจากนั้นจึงทำการยกพื้นคอนกรีตให้กลับมาในระดับเดิมและจะทำการตรวจวัดระดับด้วยเครื่องวัดระดับ แบบเลเซอร์ซึ่งมีความละเอียดและแม่นยำ พื้นจะถูกยกปรับระดับให้ได้ระดับที่ต้องการและมีความสามารถในการรับนํ้าหนักได้มากขึ้น

 รับแก้ปัญหาพื้นคอนกรีตทรุดตัว   

รับแก้ปัญหาพื้นคอนกรีตทรุดตัว

 

 ปัญหาพื้นคอนกรีตทรุดตัวส่งผลกระทบต่อการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นฐานรองเครื่องจักร พื้นที่วางสินค้าและอุปกรณ์ รอยต่อระหว่างแผ่นคอนกรีต ถนนโดยรอบโรงงาน และลานจอดรถ ทางบริษัท J.A.T Ground Expert ได้รวบรวม พนักงานที่มีประสบการณ์ในการยกปรับระดับพื้นคอนกรีตด้วยสาร RESIN มากกว่า 10 ปี ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยสารชนิดนี้จะทำการบดอัดชั้นดินให้มีความหนาแน่นมากขึ้น และทำการยกพื้นคอนกรีตให้มีความราบเรียบและกลับมาในระดับเดิม


ข้อดีของวิธีการ Up-Lifting

1. ประหยัดเวลาในการซ่อม

2. หลีกเลี่ยงการทุบทำลายพื้นเดิมและลดฝุ่นละอองในการทำงาน

3. ไม่จำเป็นต้องขนย้ายสิ่งของหรือเครื่องจักร

4. มีการควบคุมระดับการยกด้วยเครื่องวัดแบบเลเซอร์ที่มีความละเอียดสูง

5. สามารถใช้งานพื้นที่ได้ทันทีที่เสร็จงาน

6. เพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนักให้กับพื้นที่

7. คุณสมบัติของสารเรซิน ทำให้สามารถยกนํ้าหนักได้มากกว่า 100 ตันต่อตารางเมตร

 

3. งานปิดซ่อมโพรงใต้พื้นคอนกรีต Void filling




3.1 งานฉีดซีเมนต์มวลเบา (Cellular Light Weight Cement) ฉีดซีเมนต์มวลเบาลงใต้พื้นถนน-ใต้พื้นคอนกรีตที่เป็นโพรงเพื่อปิดช่องว่างเพื่อลดการทรุดตัวลดแรงสั่นสะเทือนจากน้ำหนักจรโดยไม่เพิ่มน้ำหนักให้โครงสร้างแทนการรื้อพื้นเพื่อถมใหม่

งานฉีดซีเมนต์มวลเบา

งานฉีดซีเมนต์มวลเบา


 

แก้ปัญหาพื้นใต้ถนนเป็นโพรง ใต้พื้นอาคารเป็นโพรง-ใต้พื้นเครื่องจักรพื้นโรงงานเป็นโพรง-ใต้พื้นโกดังเป็นโพรง

  • ฉีดคอนกรีตมวลเบาปิดโพรงใต้อาคาร ป้องกันและแก้ปัญหาสัตว์เลี้ยง-สัตว์เลื้อยคลานเข้าไปอาศัยอยู่ใต้อาคาร
  • ฉีดคอนกรีตมวลเบาปิดโพรงใต้พื้นโรงงานเพิ่มความสามารถในการรับนํ้าหนักลดการสั่นสะเทือนของพื้นที่รองรับนํ้าหนักเครื่องจักร
  • ฉีดคอนกรีตมวลเบาปิดโพรงใต้พื้นโกดังเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาสัตว์มีพิษ หนูและแมลงสาบทำลายสินค้าในโกดัง 

 

3.2 การปิดซ่อมโพรงใต้พื้นถนนคอนกรีตด้วยวัสดุน้ำปูน (Cement Slurry)


ปิดซ่อมโพรงใต้พื้นถนนคอนกรีตด้วยวัสดุน้ำปูน

ปิดซ่อมโพรงใต้พื้นถนนคอนกรีตด้วยวัสดุน้ำปูน

 

การอุดซ่อมโพรงใต้แผ่นพื้นถนนคอนกรีต หมายถึงการอุดซ่อมโพรงช่องว่างที่เกิดขึ้นใต้แผ่นพื้นถนนคอนกรีต โดยวิธีการเจาะรูแผ่นพื้นถนนคอนกรีตบริเวณที่มีโพรงอยู่ข้างใต้จนทะลุแผ่นพื้น แล้วอัดฉีดด้วยวัสดุประเภท Slurry Cement Mortar หรือวัสดุอื่นใด โดยใช้แรงดันเพื่อเติมวัสดุดังกล่าวข้างต้นให้เต็มปริมาตรโพรงช่องว่างที่เกิดขึ้น ใช้ในงานซ่อมบำรุงถนนคอนกรีต ที่เกิดโพรงช่องว่างใต้แผ่นพื้นถนนคอนกรีตซึ่งเป็นความเสียหาย
 

4. บริการซ่อมพื้นคอนกรีต Concrete floor repair งานซ่อมแซมโครงสร้างพื้นคอนกรีต

4.1 งานซ่อม เคลือบพื้นผิวคอนกรีต

การซ่อมเคลือบพื้นผิวคอนกรีต มีวัสดุหลากหลายให้เลือกใช้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งานของพื้นที่ดังกล่าว

  • งานพื้นอิพ็อกซี่

การซ่อมเคลือบพื้นผิวคอนกรีตด้วยวัสดุ Epoxy Resin เหมาะสำหรับงานซ่อมพื้นโรงงาน หรือพื้นคอนกรีตทั่วไป

 ซ่อมเคลือบพื้นผิวคอนกรีตด้วยวัสดุ Epoxy Resin

ซ่อมเคลือบพื้นผิวคอนกรีตด้วยวัสดุ Epoxy Resin

 

  • งานพื้นพียู

การซ่อมเคลือบพื้นผิวคอนกรีต ด้วยวัสดุ Polyurethane เพื่อเมื่อผสมรวมกันทั้งสามส่วนจะได้ "วัสดุเคลือบ พื้นโพลียูรีเทน" ที่มีคุณสมบัติ รับแรงกระแทก การเสียดสี การสัญจร ฟอร์คลิฟท์ และทนทานต่ออุณหภูมิ ร้อนได้ +140˚C และอุณหภูมิเย็นได้ -40˚C นอกจากนี้ ยังสามารถผสม Silver Nano เพื่อใช้เป็นวัสดุเคลือบพื้นผิวคอนกรีตชนิดพิเศษที่มีความสามารถในการ ป้องกันเชื้อแบคทีเรีย เพื่อทำเป็น "พื้นป้องกันแบคทีเรีย (Anti-bacterial Floor)" เหมาะสำหรับงานซ่อมพื้นโรงงาน หรือซ่อมคอนกรีตแตกร้าวทั่วไป

  • งานพื้นอิพ็อกซี่ต้านไฟฟ้าสถิต

พื้น Anti-Static (Anti-Static Floor) คือการเคลือบพื้นผิวคอนกรีตด้วยพื้น Epoxy ชนิดพิเศษ ค่าการต้านทานไฟฟ้าของพื้น Anti-Static จะอยู่ที่ 106-108 โอห์ม มีคุณสมบัติ ในการต้านทานไฟฟ้าสถิต โดยจะทำหน้าที่นำไฟฟ้า สถิตไหลผ่านลงสู่สายดิน ต้านทานไม่ให้กระแสไฟฟ้าสถิตที่มีอยู่ในร่างกายผู้ที่ปฏิบัติงาน หรือในสภาพ แวดล้อมการทำงาน ไปทำให้เกิดการจุดระเบิดกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พื้น Anti-Static ซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งในการติดตั้งหรืองานซ่อมพื้นโรงงาน Electronic, พื้นโรงงานผลิต แผงวงจรไฟฟ้า หรือแม้แต่พื้นโรงงานผลิต พื้นห้องคลีนรูม ที่ควบคุมปริมาณฝุ่น

 งานพื้นอิพ็อกซี่ต้านไฟฟ้าสถิต

งานพื้นอิพ็อกซี่ต้านไฟฟ้าสถิต

 

  • งานพื้นอิพ็อกซี่ทนเคมี

การเคลือบพื้นผิวคอนกรีตที่สามารถใช้กับงานเคลือบทนเคมีสูงได้ โดยบริเวณที่นิยมในการเคลือบพื้นผิวคอนกรีตใช้งาน คือ เคลือบแทงค์,พื้น, ผนัง, บ่อบำบัดนํ้าเสีย, บริเวณผสมสารเคมี, บริเวณเติมนํ้ามันกลั่นแบตเตอรี่ และงานซ่อมพื้นโรงงานผลิตสารเคมี โดยใช้ควบคู่กับ เส้นใยไฟเบอร์กลาสหรือวัสดุอื่นๆเพื่อเสริมความทนทานอีกชั้นหนึ่ง

 

4.2 ระบบกันซึม

ระบบกันซึมเป็นระบบป้องกันการรั่วซึมสำหรับบริเวณหลังคาดาดฟ้าและบริเวณชั้นใต้ดินของอาคารบ้านและโรงงาน โดยระบบกันซึมใช้วัสดุกันซึมประเภทต่างๆติดตั้งบนบริเวณที่ต้องการป้องกันการรั่วซึมในอนาคต หรือซ่อมแซมการรั่วซึมเมื่อเกิดปัญหาการรั่วซึมในปัจจุบัน ระบบกันซึมจะช่วยยับยั้งความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับโครงสร้างคอนกรีตต่างๆ ลดการแตกร้าวของพื้นคอนกรีตเนื่องจากการหดตัวหรือขยายตัวของคอนกรีตและยังช่วยทำให้อายุการใช้งานทนทานยาวนานกว่าปกติ

งานระบบกันซึม

งานระบบกันซึม

 

สาเหตุของการรั่วซึมเกิดจากหลายสาเหตุเช่นรอยต่อของโครงสร้าง ส่วนผสมของคอนกรีตไม่ถูกต้องทำให้เกิดช่องว่างในเนื้อคอนกรีตทำให้เกิดคอนกรีตแตกร้าว การแตกร้าวของโครงสร้างจากการเจาะยึดวัสดุหรือการเสื่อมสภาพของคอนกรีต

 ระบบกันซึม มีวัสดุหลากหลายประเภทขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งานและลักษณะของพื้นที่

  •  Crystalize Waterproof เป็นระบบกันซึมสำหรับกันการรั่วซึมงานแทงค์น้ำ
  •  Polyurethane Waterproof เป็นระบบกันซึมสำหรับกันการรั่วซึมชั้นดาดฟ้า สามารถทนน้ำขังได้นานกว่า 10 วัน
  • Acrylic Waterproof เป็นระบบกันซึมสำหรับกันการรั่วซึมงานดาดฟ้าและซ่อมคอนกรีตแตกร้าวตามผนัง
  • Ceramic Heat Proof เป็นระบบกันซึมสำหรับหลังคาพร้อมสะท้อนความร้อนและป้องกันการรั่วซึมของผนัง
  • Pure Polyurea Waterproof เป็นระบบกันซึมเป็นระบบกันซึมสำหรับดาดฟ้า เป็นระบบกันซึมที่ดีที่สุดในปัจจุบัน อายุการใช้งาน 20-50 ปีทน UV สามารถใช้ในงานเคลือบแทงค์

 งานดูแลระบบกันซึม

งานดูแลระบบกันซึม

 

4.3 งานซ่อมพื้นผิวคอนกรีต

  • งานซ่อมผิวหน้าคอนกรีต

ด้วยวิธีสกัดเท เป็นงานซ่อมโครงสร้างผิวทาง คอนกรีตแตกร้าว ที่เกิดความเสียหายด้วยการสกัดรื้อผิวหน้าดังกล่าวออก แล้วเทแทนด้วยวัสดุ Rapid Strength Cementitious Precision Mortar ที่เป็นปูนเกราท์พิเศษ ผสมเสร็จชนิดไม่หดตัว และให้กำลังรับนํ้าหนักสูง ภายในระยะรวดเร็ว (2 - 4 ชั่วโมง)

 รับซ่อมพื้นผิวหน้าคอนกรีต

รับซ่อมพื้นผิวหน้าคอนกรีต

 

  • งานซ่อมผิวหน้าคอนกรีต ด้วยวิธีสกัดฉาบ

งานซ่อมผิวหน้าคอนกรีต ที่เกิดความเสียหายจากสภาพแวดล้อม และการใช้งาน ทำให้โครงสร้างผิวหน้าเกิดความเสียหายพื้นที่ต้องการ การรับกำลังสูงและรวดเร็ว เช่น พื้นถนน พื้นสะพาน พื้นโรงงาน พื้น สนามบิน เสา ฐานเสา ฐานรองรับคานสะพาน เป็นต้น วัสดุที่ใช้เป็นปูนฉาบดัดแปลงพิเศษชนิดส่วนผสมเดียวที่มีส่วนผสมของ ซีเมนต์โพลีเมอร์ดัดแปลง ไฟเบอร์ ซิลิกาฟูม และ ทราย สามารถรับกำลังอัดได้สูงและยึดเกาะได้ดี สามารถฉาบได้หนาประมาณ 3-5 ซม. ในรอบเดียว เหมาะกับงานซ่อมแซมพื้นผิว ที่ต้องการการรับกำลังอันสูงเป็นพิเศษ


5. งานซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต CONCRETE REPAIR

5.1 งานเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างด้วย Carbon Fiber

เป็นวิธีที่ใช้ในการเพิ่มความสามารถในการรับนํ้าหนักบรรทุก และช่วยแก้ไขการแอ่นตัวที่ มากเกินกำหนด ด้วยการเสริมวัสดุด้านนอก โดย (External Bonded Reinforcement) "แผ่นคาร์ บอนไฟเบอร์" (Carbon Fiber Reinforced Polymer : CFRP)

 งานเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างด้วย Cabon Fiber

งานเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างด้วย Cabon Fiber

 

5.2 งานซ่อมคอนกรีตเสริมเหล็กแตกร้าว

เป็นการซ่อมคอนกรีตที่เกิดการ กัดกร่อน หลุดร่อน หรือ แตกร้าว เนื่องจากอายุของโครงสร้าง, โครงสร้างในนํ้าทะเล หรือโครงสร้างที่ถูกสัมผัสกับสารเคมี

5.3 งานซ่อมคอนกรีตแตกร้าวโดยวิธี Epoxy & PU Resin Injection

เป็นการงานซ่อมคอนกรีตแตกร้าวบนโครงสร้างคอนกรีต เพื่อเชื่อมประสานเนื้อคอนกรีต และให้โครงสร้างคอนกรีต กลับมารับนํ้าหนักได้ดังเดิม สามารถซ่อมได้ทั้งพื้นถนนคอนกรีตที่เกิดรอยร้าว และซ่อมพื้นโรงงานที่เกิดรอยร้าว

งานซ่อมพื้นคอนกรีตแตกร้าวขนาดใหญ่

งานซ่อมพื้นคอนกรีตแตกร้าวขนาดใหญ่

 

5.4 งานอุดซ่อมรอยรั่วซึม โดย PU Foam Injection

เป็นการซ่อมคอนกรีตที่มีการรั่วซึมของนํ้าผ่านโครงสร้างคอนกรีต โดยการอัดฉีด PU Foam เข้าไปยังโพรง หรือจุดรั่วซึม

 

6. งานเกร้าท์ติ้งเพื่อแก้ปัญหาการปรับปรุงสภาพชั้นดินอ่อน เพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนักให้กับดิน หยุดการทรุดตัวของชั้นดิน Soil Improvement ด้วยวิธี ดังนี้

งานเกร้าท์ติ้งเพื่อแก้ปัญหาการปรับปรุงสภาพชั้นดินอ่อน

งานเกร้าท์ติ้งเพื่อแก้ปัญหาการปรับปรุงสภาพชั้นดินอ่อน

6.1 ทำการอัดปั้มคอนกรีตที่มีความสามารถในการไหลต่ำและมีความข้นเหลวต่ำ (Low-mobility Grouting) ด้วยแรงดันเข้าไปยังชั้นดินอ่อน เพื่อให้คอนกรีตเข้าไปแทนที่ชั้นดินบริเวณดังกล่าว ทำให้ชั้นดินมีความหนาแน่นของมวลดินมากขึ้น หรือมีความสามารถในการรับน้ำหนักมากขึ้น และขณะเดียวกันดินบริเวณข้างเคียงก็จะถูกบีบอีดให้มีความหนาแน่นมากขึ้นเช่นกัน

6.2 งานเกร้าท์ติ้งด้วยการฉีดสารโพลียูรีเทน PU Deep Grouting สารโพลียูรีเทนขยายตัวได้ 10 เท่าแทนที่ช่องว่างหรือโพรงในชั้นดิน แก้ปัญหาพื้นทรุดจากแรงเฉือนของน้ำหนักของโครงสร้างบนพื้นคอนกรีต

6.3 งานเกร้าท์ด้วยการฉีดคอนกรีตเหลวแรงดันต่ำลงในพื้นดินทราย Slurry concrete Grout เพื่อเสริมเสถียรภาพให้ดินทราย Low Pressure Grouting or Permeable Grouting